This is default featured slide 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เจอผู้ป่วยมือเท้าปากสายพันธุ์รุนแรงในไทย 1ราย

โรคมือ เท้า ปาก

กรมควบคุมโรค เผยผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก ในไทยเพิ่มไม่หยุด ผวา!เริ่มพบผู้ป่วยเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71-D4 สายพันธุ์รุนแรง จำนวน 1 คนใน 100 คน ระบุหากพบป่วยเกิน 5 คน และเตรียมเสนอ รมว.สธ.ตั้งวอร์รูมควบคุมโรคสัปดาห์หน้า 
       
       วันนี้ ( 14 ก.ค.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้พบผู้ป่วยโรคมือเท้าปากในไทยจำนวนเพิ่มขึ้นไม่หยุด จากสัปดาห์ที่แล้ว 10,800 คน ขณะนี้พบมากกว่า 12,000 คนแล้ว ผู้ป่วยพบมากที่สุดในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและกระจายบางจังหวัดในภาคอีสาน ขณะที่พบผู้ป่วยแล้วทุกจังหวัดในประเทศไทยจำนวนมากน้อยต่างกันไป มาตรการที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำชับสาธารณสุขจังหวัดอย่างเข้มงวดหากพบเด็กป่วยในศูนย์เด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาล ใน 1 ห้องเรียนหรือกระจายตามห้อง หากมากเกิน 5 คน คือ ให้ปิดทั้งโรงเรียนทันที นานอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพื่อตัดวงจรแพร่ระบาดของเชื้อ แต่ยังพบว่าโรงเรียนบางแห่งไม่ยอมปิดโรงเรียน ทำให้อัตราการแพร่ระบาดไม่หยุดนิ่ง ยังสูงอยู่
       
       “สัปดาห์หน้าจะนำเสนอเรื่องนี้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขทราบ เพื่อจัดตั้งวอร์รูมขึ้นมาเป็นคณะกรรมการควบคุมโรค โดยให้ผู้ว่าราชการทุกจังหวัดเป็นกรรมการและจะประชุมทางไกลไปยังจังหวัดที่มีผู้ป่วยจำนวนมากให้โรงเรียนในจังหวัดนั้นๆ ปิดทันที” นพ.พรเทพกล่าว 
       
       นพ.พรเทพ กล่าวด้วยว่า แม้จะยังไม่พบผู้เสียชีวิตจากโรคมือเท้าปากในไทย แต่เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71-D4 ซึ่งเป็นสายพันธุ์รุนแรงทำให้เด็กกัมพูชาเสียชีวิต พบในไทย 1 คนในผู้ป่วย 100 คน และพบมากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะนี้เกือบ 200 คนแล้ว การพบเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71-D4 ทำให้ตนเริ่มไม่มั่นใจว่าเด็กซึ่งมีภูมิต้านทานต่ำอยู่แล้ว หากติดเชื้อดังกล่าวนี้ อาจทำให้เสียชีวิตได้ เป็นเรื่องน่าหนักใจสำหรับผู้ปกครองที่ต้องให้การดูแลบุตรหลานเด็กเล็ก จึงอยากย้ำให้ศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล ช่วยผู้ปกครองอีกทางด้วยการปิดโรงเรียน...



ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน



วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เปิดธุรกิจ 100 ล้าน อักษรย่อปริศนาโยงบ่อนการพนันซอยกิ่งเพชร

เจาะขุมข่ายธุรกิจ เลิกๆ ร้างๆ 100 ล้าน “เยาวเรศ ชินวัตร” เหยื่อ “ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์” แฉปริศนาอักษรย่อคนในตระกูลชินวัตรโยงสัมพันธ์เจ้าของบ่อนซอยกิ่งเพชร เทียบความมั่งคั่ง “ทักษิณ เจ๊แดง-เยาวภา”
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักข่าวอิศรา ได้ตรวจสอบข้อมูลธุรกิจนางเยาวเรศ ชินวัตร อดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ (2546-2549) เนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเครือญาติของคนในตระกูลชินวัตรถูกนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย พยายามโยงว่าอาจเกี่ยวพันกับเจ้าของบ่อนการพนันในซอยกิ่งเพชร กรุงเทพฯ โดยบอกใบ้ทิ้งปริศนาอักษรย่อ “ย.” สระ “เอา”
       
       ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ออกมาปฏิเสธแทนว่าคนในตระกูลชินวัตรไม่ว่าจะเป็นนางเยาวเรศ ชินวัตร หรือนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่มีใครทำเรื่องต่ำๆอย่างนั้น
       
       ทั้งนี้ ครอบครัวชินวัตรของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีมีพี่น้อง 7 คน นางเยาวลักษณ์ คล่องคำนวณการ เป็นคนโต นางเยาวเรศ ชินวัตร เป็นคนที่ 3 รองจาก พ.ต.ท.ทักษิณและเป็นพี่สาวนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ภรรยานายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯ
       
       โฟกัสที่นางเยาวเรศ ชินวัตร พบว่า เป็นกรรมทั้งสิ้น 12 บริษัท รวมทุนจดทะเบียนประมาณ 100 ล้านบาท ได้แก่
       
       1.บริษัท ชินวัตร (เชียงใหม่) จำกัด จดทะเบียนวันที่ 6 ก.ย. 2532 ทุน 50 ล้านบาท
       
       2.บริษัท ชินวัตร (ภูเก็ต) จำกัด จดทะเบียนวันที่ 28 มี.ค. 2531 ทุน 12 ล้านบาท
       
       3.บริษัท ชินวัตร เฮลท์โปร จำกัด จดทะเบียนวันที่ 9 ก.พ. 2543 ทุน 1 ล้านบาท
       
       4.บริษัท ชินวัตร โฮม มาร์ท จำกัด จดทะเบียนวันที่ 19 มิ.ย. 2537 ทุน 5,400,000 บาท
       
       5.บริษัท ชินวัตร โฮลดิ้ง จำกัด จดทะเบียนวันที่ 2 ก.ย. 2534 ทุน 3 ล้านบาท
       
       6.บริษัท วายชินวัตรา จำกัด จดทะเบียนวันที่ 18 ธ.ค. 2524 ทุน 1 ล้านบาท
       
       7.หจก. ชานเมรีเอลเดอร์ จดทะเบียนวันที่ 12 ต.ค. 2524 ทุน 200,000 บาท
       
       8.หจก. สยามแซนด์ 1980 จดทะเบียนวันที่ 16 มิ.ย. 2523 ทุน 200,000 บาท
       
       9.บริษัท ชินวัตร เทคโนโลยี แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชิ เทคโนโลยี่ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด) จดทะเบียนวันที่ 16 พ.ย. 2544 ทุน 5 ล้านบาท
       
       10.บริษัท ชิเซน อินเตอร์เนชันแนล จำกัด จดทะเบียนวันที่ 6 ม.ค.2542 ทุน 20,500,000 บาท
       
       11.บริษัท ชินวัตร (พัทยา) จำกัด จดทะเบียนวันที่ 17 พ.ค. 2543 ทุน 5 ล้านบาท
       
       และ 12.บริษัท ไลฟ์เวลล์เนส คอร์ป จำกัด จดทะเบียนวันที่ 27 มี.ค. 2550 ทุน 1 ล้านบาท
       
       จากการตรวจสอบพบว่า จากขุมธุรกิจทั้งหมด 12 บริษัท 10 บริษัทเลิกกิจการและบางแห่งเป็นกิจการร้าง มีเพียง 2 แห่งที่ยังเปิดดำเนินการ คือ บริษัท ชินวัตร (ภูเก็ต) จำกัด และบริษัท ชินวัตร โฮม มาร์ท จำกัด
       
       บริษัท ชินวัตร (ภูเก็ต) จำกัด ผลประกอบการระหว่างปี 2549-2553 มีรายได้ปีละ 360,000 บาท ปี 2553 ขาดทุนสุทธิ 657,699.97 บาท ปี 2552 ขาดทุนสุทธิ 841,878.31 บาท ปี 2551 ขาดทุนสุทธิ 911,814.31 บาท ปี5250 ขาดทุนสุทธิ 921,658.54 บาท ปี 2549 ขาดทุนสุทธิ 528,434.05 บาท
       
       บริษัท ชินวัตร โฮม มาร์ท จำกัด วันที่ 21 กันยายน 2549 ได้เพิ่มทุน 80 ล้านบาทเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท พาร์ค วิลล์ ภูเก็ต จำกัด ที่ตั้งเดิม เลขที่ 136 ซอยสุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ นายธนกฤต สมประสงค์ ถือหุ้น 480,000 หุ้น หรือ 60% นายทวีทรัพย์ จิตต์โสภณ 160,000 หุ้น หรือ 20% นางสาวพิมพ์พิชา จินตานนท์ 160,000 หุ้น หรือ 20% นายทวีทรัพย์ จิตต์โสภณ นายธนกฤต สมประสงค์ เป็นกรรมการ ปี 2551 รายได้ 48,021,558 บาท ขาดทุนสุทธิ 4,540,288.25 บาท ปี 2552 รายได้ 28,414,698 บาท กำไรสุทธิ 6,028,539.90 บาท ปี 2553 รายได้ 8,489,044.49 บาท ขาดทุนสุทธิ 1,401,317 บาท
       
       เท่ากับมีธุรกิจที่เป็นของนางเยาวเรศและเปิดดำเนินการเพียง 1 แห่ง คือ บริษัท ชินวัตร (ภูเก็ต) จำกัด น่าสังเกตว่าขาดทุนต่อเนื่องทุกปี
       
       อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาเฉพาะผลประกอบการ สถานะ “เลิกๆ ร้างๆ” เมื่อเทียบกับ พ.ต.ท.ทักษิณเจ้าของชินคอร์ป และเอสซี แอสเสท และนางเยาวภาเจ้าของเอ็มลิงค์ ความสำเร็จทางธุรกิจของนางเยาวเรศ อาจไม่ทัดเทียม 2 พี่น้องร่วมสายโลหิต?
       
       บริษัทที่ เยาวเรศ ชินวัตร เป็นกรรมการ
ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน



Sale ลดราคา...มหกรรมแหกตาประชาชน


“เมกา บางนา Mid Year Sale 30-70%”
            “สยาม เซ็นเตอร์ The Endless Legend Up to 90%” 
            “End Of Season ลดสูงสุด 80%”
            “SuperSports Sale ลดสูงสุด 50%”
       
       ขบวนป้ายลดราคาที่โหมประโคมโฆษณาทั้งสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต ที่ไม่ว่าใครเห็นก็ต้องใจอ่อน ขาอ่อน อยากจะพุ่งเข้าใส่ ยิ่งตอนนี้มีงานลดราคา มหกรรม Sale อยู่ทั่วบ้านทั่วเมือง แล้วใครเล่าจะอดใจไหว หลายคนจึงขอวิ่งโร่ไปเสียเงินสักหน่อยเพื่อความสบายใจ โดยที่เจ้าของหรือผู้ผลิตก็ยิ้มแย้มหน้าบานเหมือนหมาป่าหลอกเจ้าแกะน้อยได้สำเร็จ แถมยังหลงกลมากันเยอะอีกด้วย
       
       กลยุทธ์ทางการตลาด
       กลับมาอีกแล้วสำหรับเทศกาลลดราคาสินค้าตอนกลางปีทั้งของกินของใช้ที่มักจะวนเวียนยั่วขาช้อปกันเป็นประจำ อย่างเดือนมิถุนายนที่ผ่านมางานลดราคาแบบยิ่งใหญ่ก็มีให้เลือกเยอะแยะจนไปไม่ถูกทั้งงานบิ๊กบึ้มอย่างงานสหพัฒน์กรุ๊ปแฟร์ ที่ขนกันมาลดแลกแจกแถมทำเอาสถานที่จัดงานแทบแตกหรือตอนนี้คนมีตังค์ก็แอบอมยิ้มกับเทศกาล End Of Season ของแบรนด์ต่างๆที่ลดล้างสต็อกกันไปเลย และตอนนี้ที่ขาช้อปขาลุยคงไม่พลาดก็คือมหกรรมลดราคาถึง 90% ณ สยามเซ็นเตอร์ ที่ขอลดสะบั้นก่อนปิดปรับปรุง ที่ทำให้นักช้อปตกตะลึงอึ้งปากค้างว่า โอ้แม่เจ้า อะไรจะลดกันปานนั้น

       ทั้งหลายทั้งปวงกับโปรโมชั่น ลด แ(ห)ลก แจก แถม ก็ถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างหนึ่งที่จัดมาเพื่อมากระตุ้นต่อมความอยากใช้เงินของคนบ้าช้อปทั้งหลาย โดยการลดราคาจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมส่งเสริมการขาย หรือ Sale Promotion เป็นการสร้างตัวกระตุ้นให้ผู้บริโภคมาซื้อสินค้า โดยส่วนมากก็มักจะพบเห็นได้อยู่ใน 3 รูปแบบได้แก่ แบบที่หนึ่ง การลดราคา อาจจะลดเป็นส่วนต่าง ลดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็ตามแต่ หรืออาจเลขายไปเลยราคาเดียวเพื่อความไม่ยุ่งยาก แบบที่สอง การแจกคูปอง ส่วนลด สิทธิพิเศษต่างๆ เมื่อซื้อครบเท่านั้นเท่านี้ก็จะได้บัตรส่วนลดเพิ่มอีก และแบบที่สาม การจับคู่ซื้อให้ได้ราคาถูกกว่า หรือซื้อชิ้นแรกลด 10% ซื้อสองชิ้นลดเพิ่มเป็น 15%
       ในปัจจุบันการลดราคามักจะเกิดขึ้นในห้างแบบไฮเปอร์มาร์เก็ต (Hypermarket) มากที่สุด คือตามห้างค้าปลีกอย่างโลตัส บิ๊กซี ที่เป็นห้างขายสินค้าในชีวิตประจำวันซึ่งมีอัตราการแข่งขันค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงต้องลดราคาสินค้าบางอย่างเพื่อดึงลูกค้าให้ได้มากที่สุด ซึ่งแท้จริงแล้วที่เราเห็นว่าลดแล้วลดอีก มันเป็นเพียงกลยุทธ์ที่ว่าสินค้าจำเป็นลดราคาจริงๆแค่ไม่กี่ชนิดหรือลดก็ไม่ได้เยอะมากมาย แต่ลูกค้าไหนๆ ก็เสียเวลา เสียค่ารถมาซื้อแล้วก็เลยซื้อนู่นนี่พ่วงไปด้วย โดยที่ไม่รู้เลยว่าสินค้าที่ไม่ได้ลดเหล่านี้เค้าอาจจะแอบเพิ่มราคาขึ้นไปโดยที่ผู้บริโภคไม่รู้เลย
       

       ลุมพรางลดราคา กับดักลวงผู้บริโภค
       พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในยุคข้าวยากหมากแพงเช่นนี้ เรื่องของความประหยัดคงต้องมาเป็นอันดับ 1 ดังนั้นการลดราคาจึงเป็นสิ่งดึงดูดใจผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ถือว่าเกมนี้ วิน-วิน ทั้งสองฝ่าย ผู้บริโภคได้ของถูกและผู้ผลิตได้ยอดขาย ซึ่งการจัดลดราคาก็ต้องเอาใจลูกค้ากันสุดฤทธิ์ เพื่อเรียกคนและแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่น ดังนั้นจึงต้อมยอมขึ้นป้ายเซลล์แบบสุดๆอย่างกับแจกฟรี แล้วการจัดลดราคาแบบนี้ผู้ผลิตจะขาดทุนจริงๆหรือไม่ ก็เป็นคำถามชวนคิดอยู่ไม่น้อย
       “เรื่องของการขาดทุนไม่มีหรอก อาจจะแค่กำไรน้อยลง โดยเฉพาะ สินค้าอุปโภค สินค้าฟุ่มเฟือย พวกนี้ยิ่งไม่ขาดทุนเพราะราคาขายปกติ ส่วนบวกกำไรมัน100% อยู่แล้ว ต่อให้ลด 50% ก็ไม่มีทางขาดทุน พวกห้างร้านแบบนี้ถึงได้จัดลดราคากันบ่อยๆ อย่างพวกลดความอ้วน ราคาคอร์สละ 100,000 มาจัดโปรฯลดเหลือ 30,000-40,000 เค้าก็ยังได้กำไร แต่ถ้าไม่ลดเค้าก็ได้กำไรมหาศาลซึ่งตามหลักจริงๆแล้ว สินค้าควรได้กำไรแค่พอสมเหตุสมผล จะต้องไม่เกิน 30-35%”

       กลวิธีในการจัดลดราคาที่จริงแล้วผู้ผลิตต่างหากที่เป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด เราที่เป็นผู้บริโภคตาดำๆก็เลยตกเป็นเหยื่อไปกันทั้งแถบ ส่วนผู้ผลิตก็นอนนับเงินอู้ฟู่สบายๆแบบเสือนอนกินตามที่นักวิชาการด้านการตลาดอย่าง ชลิต ลิมปนะเวช อธิบายให้เราเข้าใจ ซึ่งนอกเหนือไปจากกำไรที่ไม่ได้หดหายไปสักเท่าไหร่ อีกหนึ่งวิธีขายสินค้าอีกอย่างคือการแฝงตัวของสินค้าใหม่เข้ามาด้วย ดังที่ตามร้านค้าทั้งหลายบอกว่าลด 50% ลด 70% แต่ไม่ได้หมายความว่าจะลดทั้งร้าน ดังนั้นก็ต้องระมัดระวังให้ดี เวลาจ่ายตังค์จะได้ไม่ต้องตกใจหงายหลังกับสินค้าที่ไม่ได้ลดไปด้วย
       “ช่วงการลดราคามันก็จะมี แฟคทอรี่ เซลล์ (Factory Sale) กับ ซีซัน เซลล์ (Season Sale) เป็นการระบายสินค้าที่เริ่มขายไม่ออกแล้ว เก่าแล้ว ตกรุ่นแล้วออกไป โดยเฉพาะพวกเสื้อผ้า สินค้าแฟชั่น ก็จะเอามาลด ขายเอากำไรนิดเดียว แต่เจ้าของก็จะใช้ช่องนี้แหละพ่วงสินค้าล็อตใหม่ไปด้วย และขายในราคาปกติ ไม่ลดราคา อย่างแต่ก่อน จิม ทอมป์สัน ปีหนึ่งจะมีลดครั้งเดียว จัดงานลดใหญ่โตเลยที่โรงแรม แต่มาเดี๋ยวนี้สองเดือนก็เอามาจัดลดราคากันแล้ว ผู้บริโภคที่ฉลาดก็จะรอมาซื้อกันในช่วงลดนี้ 
        
       ส่วนเรื่องของการนำสินค้ามีตำหนิ มีปัญหาจากการผลิต เอามาลดราคาหรือเอามาปนขายก็มีอยู่บ้างสำหรับเจ้าของห้างร้านที่ไม่ซื่อสัตย์ แต่สินค้าที่ไม่น่าจะมีปัญหาตรงนี้คือพวกเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะถ้ามันเสียแล้วก็ใช้ไม่ได้แล้ว ซึ่งพวกนี้จะไม่ค่อยลดราคามากนัก”
       

       ลดแหลก หลอกให้ซื้อ สินค้าแบรนด์เนม 
       เครื่องอุปโภค บริโภคที่เราใช้ทั่วๆไป เวลาลดกันครั้งหนึ่งก็มีแต่คนต่างพากันไปซื้อมาเก็บกักตุน แต่อย่างสินค้าแบรนด์เนม มียี่ห้อต่างๆ ราคาแพงขนาดที่ว่าลดราคาแล้วก็ยังจัดว่าสูงอยู่ดีสำหรับคนหาเช้ากินค่ำ บางแบรนด์ก็เอะอะเดี๋ยวลด เดี๋ยวโละ แต่บางแบรนด์รอกันจนยานกว่าจะได้ลดทั้งทีหรือเด็ดสุดก็ไม่เคยคิดจะลดราคาเลย เหตุผลสำหรับเรื่องนี้มันเป็นเพราะอะไรนั้น ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย กูรูด้านการตลาดก็ชี้แจงแถลงไขว่าเพราะอาจทำให้เสียภาพลักษณ์ของแบรนด์สินค้านั้นได้
       “ปกติแล้วแบรนด์ที่ลดก็จะเป็นแบรนด์ทั่วไป แบรนด์หรูๆ กลุ่ม Luxury เค้าจะไม่ลดกัน โดยเฉพาะพวกตัวคลาสสิคที่ไม่ว่ากี่ปีก็ราคาเท่าเดิม คือการลดราคาเนี่ยมันแบ่งกันตามระดับสินค้า แบรนด์หรูจะไม่ลดเลย แบรนด์กลางก็ลดบ้างอย่าง Paul Smith จะลดปีละสองครั้ง แล้วก็ส่วนลดก็ไม่มากมาย แต่แบรนด์ทั่วไปก็จะลดทุกครั้งที่จบซีซันก็ต้องโละของรุ่นเก่าออกไป ซึ่งเรื่องการลดราคานี่เป็นเรื่องปกติเป็นการเปิดของออกไปเพื่อเอารุ่นใหม่มาลง” 
       อีกหนึ่งข้อสังเกตคือการที่ร้านค้าตามห้างต่างๆ แปะป้ายว่าเซลล์ไว้และก็แปะค้างไว้อยู่อย่างนั้น เดินผ่านไปผ่านมากี่ครั้งก็ยังลดอยู่ แล้วทำไมไม่ทำให้เรื่องมันง่ายขึ้นด้วยการปรับราคาลงเสียเลยล่ะ ธันยวัชร์ ก็อธิบายเพิ่มเติมว่านี่ก็ถือเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งในการขายเช่นกัน
       “Discount Everyday มันก็เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งเพราะปกติแล้วคุณก็ไม่ซื้อจนกว่ามันจะลดใช่มั้ย ดังนั้นมันก็เป็นไปตามหลักจิตวิทยา ตั้งราคาไว้สูงๆ พอเอามาลดราคา คนเห็นว่ามันถูกก็จะซื้อ ซึ่งเดี๋ยวนี้มันจะมีกลยุทธ์อีกแบบหนึ่งคือการตั้งราคาถูกๆ ตัว 199, 299 แต่ใช้ดีไซน์เนอร์ดังๆมาออกแบบในราคาที่ไม่แพง เพราะการที่จะลดตลอดทั้งปี คนก็จะเริ่มมองแล้วว่าแบรนด์นี้มีปัญหาหรือเปล่า หรือเอาของเก่าเก็บมาขายหรือเปล่า”
     
  
       เทคนิค คิดก่อนซื้อ
       ก่อนจะซื้อสินค้าใดๆก็แล้วแต่ควรคำนึงถึงความจำเป็นก่อน เพราะสมัยนี้เงินแต่ละบาทก็หามาได้ด้วยความยากเย็น แล้วสังคมตอนนี้ก็จะพบเจอเยอะเชียวกับพวกชักหน้าไม่ถึงหลัง ช้อปแหลกตั้งแต่ต้นเดือน แล้วอีกหลายอาทิตย์ที่เหลือก็ต้องค่อยๆเจียดเงินใช้อย่างกระเบียดกระเสียร ถ้าตอนซื้อเรามีสติไตร่ตรองมันก็คงจะดีกว่ามานั่งกุมขมับหลังซื้อมาแล้วพบว่ามีแต่ของไร้สาระ ซึ่งนักช้อปทั้งหลายก็ควรทำตามข้อแนะนำที่เราเอามาบอกเพื่อจะได้ไม่ใจอ่อนเวลาเห็นป้ายลดราคา
       
       อันดับแรก ตั้งเป้าหมายให้แน่นอนว่าความต้องการซื้อของคุณคืออะไร มีอะไรบ้าง และตั้งงบประมาณว่าคุณสามารถจ่ายได้เท่าไหร่ หลายครั้งที่หลายคนซื้อแบบมันมือเพราะเห็นคำว่า Sale จนงบบานไปเยอะ เพราะคุณมักจะเผลอจ่ายเงินไปกับของที่ไม่ต้องการแต่ราคาถูกยั่วใจมากมายหลายชิ้นโดยไม่รู้ตัว
       
       อันดับสอง คิดคำนวณราคาและส่วนลดให้ดีอย่าลืมว่าป้ายลดราคาแต่ของไม่ลดจริงยังมีอยู่เสมอๆ และให้ดูจำนวนเงินที่คุณต้องจ่าย อย่าไปสนใจราคาส่วนต่าง เปอร์เซ็นต์ส่วนลด เพราะถ้าลดกระหน่ำแล้ว แต่ราคายังสูงลิบลิ่วทำเอาลำบาก ก็ควรมองหาอย่างอื่นดีกว่า ซื้อความสบายใจได้แต่คิดด้วยว่าถ้าเงินหมดแล้วจะเอาเงินที่ไหนเลี้ยงปากท้อง
       
       อันดับสาม หากเป็นสินค้าจำพวกมีวันหมดอายุทั้งอาหาร เครื่องสำอาง ตรวจสอบวันหมดอายุของสินค้าให้ดี อย่าผลีผลามซื้อเพราะเห็นแก่ส่วนลดหรือของแถม ไม่เช่นนั้นหากซื้อมาแล้วต้องทิ้งมันไม่คุ้มกับเงินที่ต้องเสียไปเลย
       การลดราคา ก็เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับการตลาด เป็นวิธีการส่งเสริมการขาย เพื่อให้กลไกตลาดเดินหน้าต่อไปได้ เราในฐานะผู้บริโภคก็เลยต้องเดินหมากตามเกมอย่างหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นเวลาเห็นป้าย Sale ลดกระหน่ำ ถึงแม้ส่วนลดส่วนต่าง ของแถมจะยั่วตายั่วใจให้สั่นไหวขนาดไหน ก็ขอให้ควบคุมสติไว้ให้มั่น คิดก่อนซื้อ ยิ่งถ้าไม่ใช่ของใช้ประจำวันแล้วซื้อมาใช้ก็ไม่คุ้ม ก็อย่าเผลอใจไปเลย เดี๋ยวจะได้ไม่คุ้มเสีย!!
       
       ขอบคุณภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต



ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน