วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เปิดธุรกิจ 100 ล้าน อักษรย่อปริศนาโยงบ่อนการพนันซอยกิ่งเพชร

เจาะขุมข่ายธุรกิจ เลิกๆ ร้างๆ 100 ล้าน “เยาวเรศ ชินวัตร” เหยื่อ “ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์” แฉปริศนาอักษรย่อคนในตระกูลชินวัตรโยงสัมพันธ์เจ้าของบ่อนซอยกิ่งเพชร เทียบความมั่งคั่ง “ทักษิณ เจ๊แดง-เยาวภา”
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักข่าวอิศรา ได้ตรวจสอบข้อมูลธุรกิจนางเยาวเรศ ชินวัตร อดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ (2546-2549) เนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเครือญาติของคนในตระกูลชินวัตรถูกนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย พยายามโยงว่าอาจเกี่ยวพันกับเจ้าของบ่อนการพนันในซอยกิ่งเพชร กรุงเทพฯ โดยบอกใบ้ทิ้งปริศนาอักษรย่อ “ย.” สระ “เอา”
       
       ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ออกมาปฏิเสธแทนว่าคนในตระกูลชินวัตรไม่ว่าจะเป็นนางเยาวเรศ ชินวัตร หรือนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่มีใครทำเรื่องต่ำๆอย่างนั้น
       
       ทั้งนี้ ครอบครัวชินวัตรของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีมีพี่น้อง 7 คน นางเยาวลักษณ์ คล่องคำนวณการ เป็นคนโต นางเยาวเรศ ชินวัตร เป็นคนที่ 3 รองจาก พ.ต.ท.ทักษิณและเป็นพี่สาวนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ภรรยานายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯ
       
       โฟกัสที่นางเยาวเรศ ชินวัตร พบว่า เป็นกรรมทั้งสิ้น 12 บริษัท รวมทุนจดทะเบียนประมาณ 100 ล้านบาท ได้แก่
       
       1.บริษัท ชินวัตร (เชียงใหม่) จำกัด จดทะเบียนวันที่ 6 ก.ย. 2532 ทุน 50 ล้านบาท
       
       2.บริษัท ชินวัตร (ภูเก็ต) จำกัด จดทะเบียนวันที่ 28 มี.ค. 2531 ทุน 12 ล้านบาท
       
       3.บริษัท ชินวัตร เฮลท์โปร จำกัด จดทะเบียนวันที่ 9 ก.พ. 2543 ทุน 1 ล้านบาท
       
       4.บริษัท ชินวัตร โฮม มาร์ท จำกัด จดทะเบียนวันที่ 19 มิ.ย. 2537 ทุน 5,400,000 บาท
       
       5.บริษัท ชินวัตร โฮลดิ้ง จำกัด จดทะเบียนวันที่ 2 ก.ย. 2534 ทุน 3 ล้านบาท
       
       6.บริษัท วายชินวัตรา จำกัด จดทะเบียนวันที่ 18 ธ.ค. 2524 ทุน 1 ล้านบาท
       
       7.หจก. ชานเมรีเอลเดอร์ จดทะเบียนวันที่ 12 ต.ค. 2524 ทุน 200,000 บาท
       
       8.หจก. สยามแซนด์ 1980 จดทะเบียนวันที่ 16 มิ.ย. 2523 ทุน 200,000 บาท
       
       9.บริษัท ชินวัตร เทคโนโลยี แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชิ เทคโนโลยี่ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด) จดทะเบียนวันที่ 16 พ.ย. 2544 ทุน 5 ล้านบาท
       
       10.บริษัท ชิเซน อินเตอร์เนชันแนล จำกัด จดทะเบียนวันที่ 6 ม.ค.2542 ทุน 20,500,000 บาท
       
       11.บริษัท ชินวัตร (พัทยา) จำกัด จดทะเบียนวันที่ 17 พ.ค. 2543 ทุน 5 ล้านบาท
       
       และ 12.บริษัท ไลฟ์เวลล์เนส คอร์ป จำกัด จดทะเบียนวันที่ 27 มี.ค. 2550 ทุน 1 ล้านบาท
       
       จากการตรวจสอบพบว่า จากขุมธุรกิจทั้งหมด 12 บริษัท 10 บริษัทเลิกกิจการและบางแห่งเป็นกิจการร้าง มีเพียง 2 แห่งที่ยังเปิดดำเนินการ คือ บริษัท ชินวัตร (ภูเก็ต) จำกัด และบริษัท ชินวัตร โฮม มาร์ท จำกัด
       
       บริษัท ชินวัตร (ภูเก็ต) จำกัด ผลประกอบการระหว่างปี 2549-2553 มีรายได้ปีละ 360,000 บาท ปี 2553 ขาดทุนสุทธิ 657,699.97 บาท ปี 2552 ขาดทุนสุทธิ 841,878.31 บาท ปี 2551 ขาดทุนสุทธิ 911,814.31 บาท ปี5250 ขาดทุนสุทธิ 921,658.54 บาท ปี 2549 ขาดทุนสุทธิ 528,434.05 บาท
       
       บริษัท ชินวัตร โฮม มาร์ท จำกัด วันที่ 21 กันยายน 2549 ได้เพิ่มทุน 80 ล้านบาทเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท พาร์ค วิลล์ ภูเก็ต จำกัด ที่ตั้งเดิม เลขที่ 136 ซอยสุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ นายธนกฤต สมประสงค์ ถือหุ้น 480,000 หุ้น หรือ 60% นายทวีทรัพย์ จิตต์โสภณ 160,000 หุ้น หรือ 20% นางสาวพิมพ์พิชา จินตานนท์ 160,000 หุ้น หรือ 20% นายทวีทรัพย์ จิตต์โสภณ นายธนกฤต สมประสงค์ เป็นกรรมการ ปี 2551 รายได้ 48,021,558 บาท ขาดทุนสุทธิ 4,540,288.25 บาท ปี 2552 รายได้ 28,414,698 บาท กำไรสุทธิ 6,028,539.90 บาท ปี 2553 รายได้ 8,489,044.49 บาท ขาดทุนสุทธิ 1,401,317 บาท
       
       เท่ากับมีธุรกิจที่เป็นของนางเยาวเรศและเปิดดำเนินการเพียง 1 แห่ง คือ บริษัท ชินวัตร (ภูเก็ต) จำกัด น่าสังเกตว่าขาดทุนต่อเนื่องทุกปี
       
       อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาเฉพาะผลประกอบการ สถานะ “เลิกๆ ร้างๆ” เมื่อเทียบกับ พ.ต.ท.ทักษิณเจ้าของชินคอร์ป และเอสซี แอสเสท และนางเยาวภาเจ้าของเอ็มลิงค์ ความสำเร็จทางธุรกิจของนางเยาวเรศ อาจไม่ทัดเทียม 2 พี่น้องร่วมสายโลหิต?
       
       บริษัทที่ เยาวเรศ ชินวัตร เป็นกรรมการ
ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น